- SME และ Start up มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 12 ล้านคน สัดส่วนผู้ประกอบการ SME คิดเป็นกว่าร้อยละ 90 ของผู้ประกอบการทั้งหมด และ SMEs สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่าร้อยละ 35.3 ของ GDP ของประเทศ และเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก.ล.ต. จึงให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนให้ SME และ startup เติบโต
- หนึ่งในแผนย่อยที่ ก.ล.ต. ได้ทำ คือ การสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินและแหล่งเงินทุน (financial inclusion)
- ตลาดทุนจะเป็นเครื่องมือที่จะให้ SME Startup VC เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างแท้จริง ก.ล.ต. จะสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของธุรกิจ (ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก) เข้ามาในตลาดทุนให้ได้
- ก.ล.ต. จัดตั้งคณะทำงาน SME ที่มีหน่วยงานภาคีร่วมด้วยจำนวน 14 แห่ง ร่วมศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการของ SME Startup ปัจจัยที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ง่ายสะดวก และอะไรที่เป็นภาระหรืออุปสรรค
แนวทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ
- ระดมทุนด้วยหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพ (CD) จากผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Pacement) (ตลาดแรก) - เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับ สสว. ระดมทุนจาก กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย (ESOP) และ II/VC/PE (ไม่จำกัดมูลค่า) หากเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง จะสามารถระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยได้เพิ่ม แต่จำกัดจำนวนผู้ลงทุนไม่เกิน 10 ราย และมูลค่าระดมทุนไม่เกิน 20 ล้านบาท
- ระดมทุนด้วยหุ้นในวงกว้าง (ซื้อขายหุ้น SME ในตลาดรอง (SME Board)) ปัจจุบัน ก.ล.ต. ได้วางแผนดำเนินการจัดตั้งตลาดรองร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ (กระดานที่ 3) (คาดว่าจะเห็นกระดานนี้ในปีหน้า)
- ระดมทุนด้วยหุ้น/หุ้นกู้ ผ่านระบบ crowdfunding - ตลาดทุนไม่ใช่แค่ “ตลาดหลักทรัพย์” ในยุค digital ตลาดทุนมี “crowdfunding” เป็นการระดมทุนในกลุ่มคนหมู่มากโดยใช้ “crowdfunding platform” ที่เป็นการลดตัวกลาง
- ระดมทุนด้วยหุ้นให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) (มีผลบังคับใช้วันที่ 23 พ.ค.62) - เป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับ สวส.