- ทุกวิกฤตมีทางออกเสมอ SME ก็มีทางรอด โดยเฉพาะเรื่องการเงิน แก้ไขปรับได้ ไม่ได้ก็ต่อเมื่อไม่สู้ (ใจพร้อม กายจะพร้อมแน่นอน)
- เทียบวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งและโควิดวิกฤตโควิดรุนแรงกว่าในด้านผลกระทบสู่วงกว้าง แต่ก็มีโอกาสมากกว่าเช่นsocial media หากใครมีทักษะด้านนี้จะได้เปรียบ เหมือนพลิกวิกฤต เป็นโอกาส
- ในสภาวะปกติ SME สนใจเรื่องการตลาดและการดำเนินงาน แต่ไม่ค่อยสนใจในเรื่องการเงิน เมื่อเกิดวิกฤตทำให้ SME ต้องหันมาสนใจเรื่องการเงิน เมื่อเห็นตัวเลขก็อาจต้องเปลี่ยนการขายสินค้า (เปลี่ยนสินค้า/ช่องทางขาย) เพื่อให้อยู่รอด เช่น เปลี่ยนจากขายเครื่องสำอาง เป็น เจลแอลกอฮอลล์
- ธุรกิจที่มีปัญหาเรื่องการเงิน (หนี้มาก) มักมองหาเงินนำไปชำระหนี้ ทางแก้ปัญหาอีกวิธีนึงคือ ลดหนี้ > ผู้ประกอบการควรดูรายจ่ายของตน และไปเจรจาขอลดหนี้กับเจ้าหนี้แบบจริงจัง ตรง ๆ อาทิ ลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาว ในวิกฤตโควิดนี้ทำได้ แต่วิกฤตต้มยำกุ้งไม่สามารถทำได้ ธนาคารเจ้าหนี้ก็ชอบให้ลูกหนี้เดินเข้ามาเจรจา เพราะธนาคารสามารถเตรียมรับมือกับสถานการณ์ได้
- ผู้ประกอบการไม่ควรมองหาแต่สินเชื่อเพื่อนำไปชำระหนี้ต่อควรเจรจาก่อนหากจำเป็นสินเชื่อนั้นต้องเป็นสินเชื่อที่สร้างรายได้ในอนาคต
- หากธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ทำหยุกชะงัก อยากเปลี่ยนตัวเองไปทำอุตสาหกรรมอื่นก็ทำได้ โดยต้องมองกลับมาที่ธุรกิจตัวเองก่อน สำรวจทรัพยากรที่มี เช่น เครื่องจักร พนักงาน ช่องทางการขาย ที่เรามีสามารถเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นที่สร้างรายได้ได้ไหม ตัวอย่างในช่วงที่ผ่านมา: ร้านอาหาร คนทำอาหาร เปลี่ยนมาส่งอาหารด้วย ธุรกิจขายขนมที่มีลูกน้องเยอะ เปลี่ยนให้ลูกน้องมาเย็บหน้ากากผ้าขาย
- ในสภาวะแบบนี้เรื่องการเงินทักษะแบบใหม่การสื่อสารกับลูกน้องเป็นสิ่งสำคัญต้องร่วมมือกันถึงจะอยู่รอดทุกคนต้องปรับตัว
- หากจะจัดการปัญหาด้านการเงินให้ลองวางแผนอย่างจริงจังสภาพคล่อง สำคัญที่สุด ควรทำประมาณการงบกำไรขาดทุนตามจริง 6 เดือน ให้เห็นสถานะการเงิน หากติดลบจะได้แก้ปัญหา วิธีแก้ปัญหา 1) คุมรายจ่ายก่อน > รายจ่ายจากหนี้อะไรที่เจรจาได้ 2) เจรจากับลูกหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ (ให้มีเงินเข้ามา) 3) สินค้าคงคลัง = ต้นทุนจม ให้จัดการขาย อาจทำโปรโมชั่น 4) จัดสรรเงินสำรอง
- คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ 1) แยกเงินส่วนตัวกับเงินธุรกิจ 2) ใช้จ่ายบนกำไรไม่ใช่รายได้ 3) ทำงบการเงินอาทิงบกำไรขาดทุนงบกระแสงินสดให้สะท้อนตามจริงทำให้เรารู้และเข้าใจธุรกิจและวางแผนต่อไปได้เช่นเงินเดือนตัวเองควรจ่ายเท่าไหร่ ควรจัดการค่าใช้จ่ายตัวไหน ควรเปลี่ยนธุรกิจหรือไม่ สินค้าตัวไหนควรขาย งบกระแสเงินสด จะทำให้เห็นสภาพคล่องที่แท้จริง
- ทุกปัญหามีทางแก้ขอเพียงเรามีสติยอมรับปัญหาทำตัวเลขทางการเงิน > ดูว่าต้องแก้ปัญหาจุดไหน > แก้ไข ใหรักษากำลังใจ ไม่มีใครให้กำลังใจเราได้ดีเท่าตัวเราเอง
คำถามจากทางบ้าน
1) หากจะแยกต้นทุนธุรกิจ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวควรทำอย่างไร
ตอบ: ควรทำตามลำดับ ดังนี้ 1) ทำงบกำไรขาดทุนของธุรกิจ 2) ลิสต์รายการค่าใช้จ่ายของตัวเอง 3) ดูงบกำไรขาดทุนของธุรกิจว่ามีกำไรหรือไม่ หากมี ให้หักเงินเป็นเงินเดือนให้ตัวเอง และเราต้องบริหารค่าใช้จ่ายเนี้ให้เพียงพอ 4) สิ้นปี สำรวจงบกำไรขาดทุนธุรกิจใหม่ หากยังมีกำไร อาจปันส่วนจ่ายปันผลให้กับตัวเองเพิ่ม
2) มีกรอบเวลาสำหรับพิจารณาว่า ธุรกิจทำต่อไปไม่ได้แล้วควรหยุดหรือไม่
ตอบ: ให้ทำงบกำไรขาดทุนก่อน โดยไม่ต้องหักดอกเบี้ยจ่าย (ดูกำไรขาดทุนจากการดำเนินงาน) แล้วเราจะเห็นโครงสร้างธุรกิจว่าจะไปต่อได้หรือไม่ อาจไม่ต้องเลิก แต่ปรับเปลี่ยนบางอย่าง เช่น สินค้าเดิม เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย เรื่องกรอบเวลาไม่มีกำหนดแน่นอน แล้วแต่บุคคล
3) จะขายไข่ไก่ออนไลน์ ควรทำอย่างไรให้ขายได้ในยุคนี้
ตอบ: ควรใส่เรื่องราว (story) ให้ผู้ซื้อมีภาพจำมากขึ้น