“หุ้นสามัญ” ที่ออกและเสนอขายผ่านช่องทาง Crowdfunding หรือช่องทางออนไลน์ ซึ่งสามารถเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปได้ แต่จำนวนเงินต้องไม่เกินตามที่กฎกำหนด
ท่านสามารถออกหลักทรัพย์ประเภท “หุ้น” เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปผ่านช่องทางออนไลน์ที่เรียกว่า “Crowdfunding” ได้ โดยวิธีนี้ท่านผู้ระดมทุนซึ่งเป็นเจ้าของกิจการจะต้องแบ่งความเป็นเจ้าของ หรือ สิทธิในการบริหารจัดการ รวมถึงผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผลให้แก่ผู้ลงทุนซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วย
คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) เป็นวิธีระดมทุนในรูปแบบหนึ่ง ที่ระดมเงินทุนจากคนหมู่มากผ่าน “ช่องทางออนไลน์” โดยมีสิ่งตอบแทนที่หลากหลาย เช่น การบริจาคเงินได้ความสุขใจเป็นสิ่งตอบแทน การช่วยสนับสนุนคนที่มีไอเดียใหม่ ๆ ได้สินค้าที่ทดลองผลิตเป็นสิ่งตอบแทน หรือบางครั้งอาจได้หุ้น หรือหุ้นกู้ ของบริษัทเป็นสิ่งตอบแทน เป็นต้น
ถ้ากิจการจะให้หุ้นกู้เป็นสิ่งตอบแทนแก่ผู้ลงทุน กิจการจะต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้จาก ก.ล.ต. ก่อน และต้องเสนอขายผ่าน “เว็บไซต์ตัวกลาง” หรือ funding portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. จึงจะระดมเงินทุนได้ เนื่องจากหุ้นกู้เป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง การระดมทุนประเภทนี้เรียกว่า Investment Based Crowdfunding
กิจการที่ระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง กิจการจะมีสถานะเป็นลูกหนี้ของผู้ลงทุน ที่จะต้องชำระเงินต้น และดอกเบี้ย ให้กับผู้ลงทุนตามที่กำหนด แต่ไม่เสียสูญเสียความเป็นเจ้าของให้แก่ผู้ลงทุน
เนื่องจากกิจการที่ต้องการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง มักจะเป็นกิจการที่มีโอกาสเติบโต แต่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือเป็นโครงการใหม่ จึงยังมีความไม่แน่นอนระดับหนึ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ลงทุนเหมาะสมกับความรู้ ประสบการณ์การลงทุนที่มี จึงแบ่งผู้ลงทุนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
สำหรับวงเงินระดมทุน ของผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ จะไม่จำกัด เนื่องจากมีประสบการณ์ในการลงทุน มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือให้คำปรึกษาเพื่อบ่มเพาะพัฒนาธุรกิจ และ/หรือ มีฐานะทางการเงินที่ดี จึงน่าจะสามารถตัดสินใจ และรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง
“สรุปว่า ผู้ที่ระดมทุนผ่านคราวด์ฟันดิงนี้จะระดมเงินทุนจากผู้ลงทุนที่ไม่ใช่รายย่อยได้อย่างไม่จำกัดจำนวน แต่หากต้องการระดมเงินทุนจากผู้ลงทุนรายย่อย ในปีแรกจะระดมเงินทุนได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท และสามารถระดมเงินทุนเพิ่มได้ในปีถัดไป แต่ตลอดทั้งโครงการจะระดมทุนได้ไม่เกิน 40 ล้านบาท (นับรวมทั้งหุ้นและหุ้นกู้)”
กรณีหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง หากระดมทุนได้ไม่น้อยกว่า 80 % ของวงเงินเสนอขาย ผู้ระดมทุนสามารถรับเงินลงทุนไปดำเนินโครงการได้ โดยต้องออกหุ้นกู้ให้แก่ผู้ลงทุนตามสัดส่วนที่ลงทุน แต่หากระดมทุนได้น้อยกว่า 80% จะต้องยกเลิกการระดมทุนและคืนเงินให้แก่ผู้ลงทุน (ซึ่งต่างจากการระดมทุนแบบหุ้นคราวด์ฟันดิง ซึ่งหากระดมทุนไม่ได้ครบตามที่กำหนด จะต้องยกเลิกการระดมทุน)
เพื่อให้การระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง มีกลไกในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้กิจการที่เป็น SMEs และ Startup สามารถระดมทุนได้โดยไม่สร้างภาระในการเปิดเผยข้อมูลเกินจำเป็น สำนักงาน ก.ล.ต. จึงได้สร้างกลไกในการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง ดังนี้
คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการระดมทุนผ่านช่องทางคราวด์ฟันดิงที่ทำให้ผู้ระดมทุนพบกับผู้สนใจลงทุน ในรูปแบบเว็บไซต์ตัวกลาง โดย funding portal จะเป็นผู้ช่วยหลักในการเตรียมความพร้อมให้กับกิจการที่ต้องการระดมทุนผ่านช่องทางคราวด์ฟันดิง โดยมีหน้าที่หลักคือ
โดยท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อของ Funding Portal ได้ที่นี่ : รายชื่อ Funding Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
เนื่องจากช่วงการเสนอขายหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง มักจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน (ระยะเวลาการเสนอขาย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น มูลค่าเสนอขาย การเข้าถึงผู้ลงทุน เป็นต้น) ซึ่งเมื่อผู้ลงทุนจะโอนเงินค่าจองซื้อเข้ามาในระหว่างการจองซื้อ จึงจำเป็นต้องมีกลไกที่จะเชื่อมั่นได้ว่าเงินของผู้ลงทุนจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัย จึงมีผู้เก็บรักษาเงินค่าจองซื้อ ซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่มีความน่าเชื่อถือ มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง และมีหน่วยงานกำกับดูแล เช่น บริษัทหลักทรัพย์ หรือ ธนาคาร เป็นต้น ทำหน้าที่เก็บรักษาเงินลงทุน โดยเมื่อระดมทุนสำเร็จ ผู้ระดมทุนจะต้องออกหุ้นกู้ให้ผู้ลงทุน จึงได้รับเงิน หรือกรณีที่ระดมทุนไม่สำเร็จ (ระดมทุนได้น้อยกว่า 80% ของวงเงินที่เสนอขาย) ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืน
ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุน โดยในกรณีหุ้นกู้มีประกัน จะทำหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน และหากมีการผิดนัดชำระหนี้ จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเรียกให้บริษัทผู้ระดมทุนมาชำระหนี้ บังคับหลักประกัน (ถ้ามี) และเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้
ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบ Funding Portal ที่มีระบบงานที่ครบถ้วนตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และฐานะทางการเงิน รวมทั้งความเหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานของธุรกิจ เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยังให้ความเห็นชอบผู้เก็บรักษาค่าจองซื้อ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมระหว่างผู้ลงทุน ผู้ระดมทุน และ Funding Portal อีกด้วย
(อย่างไรก็ดี คราวด์ฟันดิงบางประเภทที่ไม่ใช่การเสนอขายหลักทรัพย์ จะไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น คราวด์ฟันดิงในลักษณะการรับบริจาค (Donation-based Crowdfunding) คราวด์ฟันดิงที่ได้รับสิ่งของตอบแทน (Reward-based Crowdfunding) หรือคราวด์ฟันดิงในลักษณะกู้ยืม (Lending-based Crowdfunding หรือ Peer-to-Peer Lending) ซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย)
ทั้งนี้ อาจมีเอกสารอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ Funding Portal
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต. โทรศัพท์ 0-2263-6524 และ 0-2033-9753 https://www.sec.or.th/crowdfunding |
Link 1: รายชื่อ Funding Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
Link 2: กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง